ศวฯ มช. โชว์เก๋า เสนอเหล่านวัตกรรมล้ำยุค

วิศวฯ มช. โชว์เก๋า เสนอเหล่านวัตกรรมล้ำยุค

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโชว์นวัตกรรมที่อาจารย์และนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คิดค้น ในพิธีเปิดงาน “คอมพ์ แอนด์ โมบาย เอกซ์โป เชียงใหม่ 2012 (Comp & Mobile Expo Chiang Mai 2012)” จัดโดยคณะฯ ร่วมกับ บจก.สยามเอ็กซิบิชั่น โดยประธานเปิดงาน คือ นายวรการ ยกยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาสังคมและบริการวิชาการชุมชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. ผศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล กล่าวรายงานการจัดงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2555 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [caption id="attachment_1001" align="aligncenter" width="700" caption="ศวฯ มช. โชว์เก๋า เสนอเหล่านวัตกรรมล้ำยุค"]ศวฯ มช. โชว์เก๋า เสนอเหล่านวัตกรรมล้ำยุค[/caption] ผลงานวัตกรรมชิ้นแรก ได้แก่ ROBO-Blocks : ระบบเขียนโปรแกรมแบบจับต้องและโต้ตอบได้สำหรับเด็ก ของนางสาวนุสรินทร์ นุเสน นักศึกษาปริญญาโท วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ ดร. อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จาก True Innovation Awards 2011 การประกวดสุดยอดนวัตกรรมที่ออกอากาศผ่านช่อง True X-Zyte (62) เมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา โรโบ-บลอค” เป็นระบบการเขียนโปรแกรมโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยการนำบล็อกคำสั่งมาต่อกันเป็นโปรแกรม และต่อเข้ากับบล็อกมาสเตอร์ซึ่งควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมด เมื่อกดปุ่ม “ทำงาน” บล็อกมาสเตอร์จะประมวลผลโปรแกรมที่ได้ต่อไว้และสั่งให้รถหุ่นยนต์ทำงาน โดยสามารถให้ทำงานรอบเดียว  (one time) , ทำซ้ำตลอด(forever), หรือทำงานทีละขั้นตอน(step by step) ได้ ขณะคำสั่งทำงานอยู่จะมีไฟแสดงสถานะขึ้นตลอดเวลา และจะดับลงเมื่อมีคำสั่งถัดไป ส่วนอีกผลงานที่น่าสนใจเป็นชุดหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมด้านการเรียนรู้กับเด็กและเยาวชน (ตั้งแต่ชั้นประถมปลายถึงระดับมหาวิทยาลัย) มีชื่อว่า “GoGo Board”  โดย อาจารย์ ดร.อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มออกแบบในปี พ.ศ. 2543 ขณะเป็นนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย MIT ประเทศสหรัฐอเมริกา “GoGo Board” สามารถเชื่อมเข้ากับเซ็นเซอร์ได้ 8 ตัว ควบคุมมอร์เตอร์ได้ 4 ตัว และใช้ภาษาโลโก้เป็นหลัก สามารถเขียนโปรแกรมโดยการพิมพ์ หรือการลากวางคำสั่งก็ได้ โดยออกแบบเพื่อใช้สร้างระบบควบคุมอัตโนมัติ หรือเชื่อมเข้ากับโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ เช่น Scratch, Microworlds Logo, Flash ซึ่งเหมาะสำหรับการสร้างเกมบนคอมพิวเตอร์ที่มีการควบคุมด้วยเซ็นเซอร์ ปัจจุบัน GoGo Board ได้พัฒนามาถึงรุ่นที่ 4 แล้ว โดย คุณสมบัติเด่น คือ มีราคาย่อมเยา และจะยิ่งถูกลงหากผู้ใช้สร้างบอร์ดขึ้นใช้เอง สามารถสร้างเองได้ง่าย เนื่องจากไม่ใช้ชิ้นส่วน ขนาดเล็กที่บัดกรียาก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือบัดกรีพิเศษ ผู้สร้างจึงพอที่จะบัดกรีเองหรือจ้าง  ช่างทั่วไปได้ ส่วนแผ่นวงจรออกแบบมาให้เป็นหน้าเดียวเพื่อให้สามารถทำเองหรือสั่งทำได้ทั่วไป ทั้งยังใช้ชิ้นส่วนที่หาได้ในท้องถิ่น หาซื้อได้ที่ร้านอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เช่น หากอยู่กรุงเทพฯ ก็สามารถหาอุปกรณ์ทุกชิ้นได้ที่บ้านหม้อ หากอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถขอให้ร้านอิเล็กทรอนิกส์ช่วยหาของให้ได้ อีกประการหนึ่ง คือ เปิดเผยรหัสต้นฉบับหรือ Open Source เพื่อให้สามารถปรับแก้แบบ หรือพัฒนาต่อยอดแผ่นวงจรเพื่อใช้ในงานเฉพาะทางของตนได้ หากสนใจ GoGo Boad สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.gogoboard.org [caption id="attachment_1002" align="aligncenter" width="700" caption="GoGo Board"]GoGo Board [/caption]  ]]>