วิศวฯจัดพิธีมอบ Gear Award พร้อมบรรยาย “ขอ ศ.ไม่ยาก” กระตุ้นผลิตผลงานวิชาการระดับนานาชาติ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยงานบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ จัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ (Gear Award 2015) และการบรรยายพิเศษสร้างแรงบันดาลใจในการผลิตงานวิจัย และผลงานวิชาการ “ขอ ศ. ไม่ยากอย่างที่คิด” หวังกระตุ้น ส่งเสริม สร้างกำลังใจให้บุคลากรผลิตผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพ และปรากฏในฐานข้อมูลสากล ( Scopus )
พิธีมอบรางวัล Gear Award 2015 และการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ขอ ศ. ไม่ยากอย่างที่คิด” มีขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องบรรยาย 1 ชั้น 2 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม และสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในการผลิตผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพ และปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลสากล ( Scopus ) ทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในฐานะผู้ช่วยวิจัย ผู้มีส่วนผลิตงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมถึงองค์ความรู้ไปสู่ชุมชน ตลอดจนพัฒนางานวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของท้องถิ่น ประเทศ และสากล กิจกรรมดังกล่าวเริ่มจากพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ประธานในพิธี คือ รองคณบดีฝ่ายนโยบาย วิจัยและบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. รศ.ดร.ธงชัย ฟองสมุทร เป็นผู้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณทั้งหมด 5 ประเภท ตามเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2555 – 2557 ได้แก่ 1. Best Publication: รางวัลตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูลสากล (SCOPUS) รวมสูงสุด 3 ปี จำนวน 3 รางวัล คือ นักวิจัยรุ่นใหม่ : อาจารย์ ดร.นพดล กรประเสริฐ : ภาควิชาวิศวกรรมโยธา นักวิจัยรุ่นกลาง : รองศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์ : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นักวิจัยรุ่นอาวุโส : ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล 2. Best Citation : รางวัลผู้ที่มีผลงานตีพิมพ์ได้รับการอ้างอิงผลงานตีพิมพ์ (Citation) ใน SCOPUS รวมสูงสุด 3 ปี 5 ลำดับแรก ดังนี้ อันดับ 1 : ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อันดับ 2 : รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย เปรมฤดีปรีชาชาญ : ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อันดับ 3 : รองศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์ : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อันดับ 4 : ศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ เทิดทูล : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล รองศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ธีรอำพน : ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า รองศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ เอื้อพันธ์วิริยะกุล : ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อันดับ 5 : รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ วัฒนะจีระ : ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 3. Best Overhead Budget : รางวัลนักวิจัยที่มีเงินค่าบริหารโครงการเข้าจริงรวมสูงสุด 3 ปี เป็น 5 ลำดับแรก คือ อันดับ 1 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อันดับ 2 : รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาต โสภาแดง : ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ อันดับ 3 : รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาล ตัณฑกิตติ : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อันดับ 4 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์วงกต วงศ์อภัย : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อันดับ 5 : รองศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ลพ หัตถโกศล : ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ฯ 4. Best Grant Budget : รางวัลนักวิจัยที่ได้รับทุนวิจัย/โครงการบริการวิชาการรับจริง รวมสูงสุด 3 ปี เป็น 5 ลำดับแรก ดังนี้ อันดับ 1 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อันดับ 2 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์วงกต วงศ์อภัย : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อันดับ 3 : รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาล ตัณฑกิตติ : ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อันดับ 4 : รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย เปรมฤดีปรีชาชาญ : ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อันดับ 5 : รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ : ภาควิชาวิศวกรรมโยธา 5. Research Excellence : ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นรางวัลผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติใน Scopus เมื่อเทียบกับสาขาเดียวกันที่เปิดสอนในประเทศ ในปี 2557 โดยนำบทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ (Journal) ซึ่งปรากฏบน Scopus มาเป็นเกณฑ์การวัดผล แล้วเปรียบเทียบกับบทความของสถาบันชั้นนำในประเทศที่มีหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ หลังจากพิธีเชิดชูเกียรติสิ้นสุด ได้มีการบรรยายพิเศษสร้างแรงบันดาลใจในการผลิตงานวิจัย และผลงานวิชาการ “ขอ ศ. ไม่ยากอย่างที่คิด” วิทยากร คือ ศาสตราจารย์ ดร.พิชญ์ ศุภผล อาจารย์ประจำวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณาจารย์ และนักศึกษาระดับปริญญาโท-ปริญญาเอกเข้ารับฟังบรรยายดังกล่าว ทั้งนี้ การบรรยายพิเศษ ฯ จะเกิดขึ้นทุกวันพุธ ไปจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิผลัดเปลี่ยนสัปดาห์ละ 1 ท่าน ซึ่งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ วิทยากร คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [gallery link="file" order="DESC" orderby="title"]]]>