ตัดสินแล้ว แชมป์ RDC 2016 ภาคเหนือ 3 ทีมชนะ ส่งแข่งต่อระดับประเทศ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.โดยงานพัฒนาคุณภาพนักศึกษา พร้อมภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด จัดงานแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ RDC : Robot Design Contest 2016 รอบชิงชนะเลิศเขตภาคเหนือ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2559 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต โดยพิธีเปิดรอบตัดเชือกนี้ได้รับเกียรติจากรองอำนวยการสำนักผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ นางสาวศิริวรรณ ตัณฑเวชกิจ เป็นประธาน
ในปีนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 51 คน จาก 9 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง มหาวิทยาลัยราภัฎพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคสารภี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทางผู้จัดงานฯ ได้จับฉลากแบ่งกลุ่มผู้เข้าแข่งขันออกเป็น 10 ทีม แต่ละทีมจะมีนักศึกษาจากทุกสถาบันคละกัน และทำการแข่งรอบคัดเลือก รวมถึงอบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์มาก่อนหน้าแล้วในช่วงวันที่ 10 – 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่องาน “ล่าขุมทรัพย์สุดขอบดอย” ในรอบชิงชนะเลิศ มีผู้ผ่านเข้ารอบจะแข่งขันชิงชัยเก็บคะแนนแบบ 2 ใน 3 เซท จนเหลือ 4 ทีมสุดท้าย ซึ่งในที่สุดรางวัลชนะเลิศตกเป็นของทีม “ดอยคำ” สมาชิกในทีม คือ นายกิตตินันท์ ฟองคำ (ม.พะเยา) ,นางสาวณัชชา เขื่อนคำ (ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ และวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ) ,นายศิรชัช แต้มเก่ง (ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง) ,นายวีรพงศ์ พิมลอารี (วิทยาลัยเทคนิคสารภี) ,นายกร ศิริตันติวัฒน์ (ม.แม่ฟ้าหลวง) รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ทีม “ดอยตุง” สมาชิกประกอบด้วย นายสิรภพ ณฐณัฏฐ์ (ม.พะเยา) ,นายสุรพงษ์ คำกันธา (ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง) ,นางสาวฐิติกา หาดยาว (ม.ราชภัฎพิบูลสงคราม) ,นายเจนณรงค์ สุวรรณสิทธิ์ (วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่) นายรัชชานนท์ นากองแก้ว (ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตภาคพายัพ และวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ) ส่วนรองชนะเลิศอันดับที่ 2 คือ ทีม “ดอยอิน” สมาชิกได้แก่ นายสุภกิจ บัวสอด (ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตภาคพายัพ และวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ) ,นายจิรายุ วงค์โท (ม.ราชภัฎพิบูลสงคราม) ,นางสาวณัฏฐา ทิพย์วังเมฆ (ม.แม่ฟ้าหลวง) ,นายองอาจ แซ่ซ้ง (วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่) ,นายณัฐวุฒิ ดวงจิตร์ (ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตภาคพายัพ และวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ) ซึ่งทั้ง 3 ทีมจะเข้าทำการแข่งขันต่อในระดับประเทศ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 15 วัน ทั้งนี้ การแข่งขันรอบต่อไป ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะได้ถูกแบ่งกลุ่มไปคละกับสถาบันอื่นด้วยวิธีการจับฉลากอีกครั้ง ผู้ชนะจะเป็นตัวแทนประเทศไทยจะไปแข่งขัน IDC RoBoCon 2016 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ช่วงเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ต่อไป RDC : Robot Design Contest เป็นการแข่งขันต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้เป็นปีที่ 9 แนวคิดหลักคือการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์รวมถึงระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม / สังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนได้ใช้เวลาในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อันเป็นการสร้างบุคลากรรองรับการเปิดตลาดเสรีของอาเซียนต่อไปภายหน้า]]>