ตัดสินแล้ว ตัวแทนภาคเหนือแข่งออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ RDC 2019 พร้อมแข่งต่อระดับประเทศ
การแข่งขันข้างต้นจัดขึ้นภายใต้โครงการพัฒนาทักษะการออกแบบ และสร้างหุ่นยนต์ หรือชื่อเดิมว่า การแข่งขันออกแบบ และสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย (Thailand Robot Design Contest: RDC) ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.เป็นเจ้าภาพจัดการประลองระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) โดยการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ โจทย์การแข่งขันเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม Planet Greener เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนระดับอุดมศึกษา หรืออาชีวศึกษาใช้เวลาในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาการหุ่นยนต์รวมถึงระบบอัตโนมัติ อันเป็นการสร้างบุคลากรรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร การแพทย์ การทหาร การบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการวางแผน ออกแบบการทำงานอย่างเป็นระบบ ตลอดจนทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้พัฒนาความรู้ ทักษะ ความคิดในเวทีระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
ในปีนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขั้นทั้งหมด 58 คน จาก 12 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาลัยเทคนิคสารภี วิทยาลัยเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งกลุ่มนักศึกษาแต่ละทีมโดยจับฉลากคละกันทุกสถาบัน โดยดำเนินการแข่งขันระหว่างวันที่ 17 – 24พฤษภาคม 2562 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2562 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต
ผลการแข่งขันทีมชนะเลิศ ได้แก่ “พญาเสือโคร่ง” ประกอบด้วย นายภูมิพัฒน์ มีมะโน (มหาวิทยาลัยพะเยา) นายพีรกิติย์ ชาญณรงค์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ) นายเมธานันท์ เนียมเปี่ยม (มหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม)นางสาวกัลยาณี ทองคง (มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง) นายพิสิษฐ์ ชัยทอง (วิทยาลัยเชียงราย) รองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม “บักเต้า บักแต๋ง” ประกอบด้วย นายพีรภัทร วังแง่ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นายสรรพวิทย์ หน่อคำ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ) นางสาวสิริวิมล มาวงค์ (มหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม) นางสาวพิรญาณ์ วงมงคุล (มหาวิทยาลัยแม่โจ้)นายสัตตบงกช แก้วจีน (วิทยาลัยเชียงราย) นายแสงเทียน แสงสรทวีศักดิ์ (วิทยาลัยเทคนิคสารภี) รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม “มะมื่น” ประกอบด้วย นางสาวสุภัค เนื้อไม้ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นายธนากร ยงสุวรรณ์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงราย) นางสาวอำพร โพธิ์กอง (มหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม) นางสาวกรกนก ศิริรัตน์ (มหาวิทยาลัยนเรศวร) นายไชยวัฒน์ ธรรมเกิดสุข (วิทยาลัยเทคนิคสารภี) และนายภาณุวัฒน์ ธิพฤกษ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) ทั้ง 3 ทีมเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันต่อระดับประเทศในวันที่ 27 พฤษภาคม – 8 มิถุนายน 2562 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ ก่อนจะได้ผู้ชนะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันต่อใน IDC Robocon 2019 ระดับนานาชาติช่วงเดือนกรกฎาคม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป
]]>