กิจกรรมด้านงานวิจัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง ที่ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริการวิชาการสู่ชุมชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการวิจัย เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นแหล่งสะสม ค้นคว้าวิจัย สามารถนำผลงานวิจัยที่มีคุณภาพไปใช้ให้เป็นประโยชน์ทางวิชาการและแก้ไขปัญหาของชุมชนและประเทศโดยรวม โดยกำหนดวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ เป็นแหล่งการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ถ่ายทอดและให้บริการความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เสริมสร้างบัณฑิตที่มีภูมิปัญญาและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพื่อการพัฒนาชุมชนในเขตภาคเหนือและประเทศชาติ ทั้งนี้ ผู้บริหารชุดปัจจุบันได้กำหนดทิศทางการวิจัย ให้มุ่งเน้นการวิจัยที่สอดคล้องกับแนวทางวิจัยของมหาวิทยาลัย และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ผลของงานวิจัยสามารถนำไปประยุกต์หรือต่อยอดเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาให้สังคม และได้กำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายที่กำหนดไว้ โดยได้มีการดำเนินงานวิจัยอย่างเป็นระบบที่สอดคล้องกับทิศทางและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชนและบูรณาการโดยรวมไว้ดังนี้
– พลังงานทดแทน และสิ่งแวดล้อม
– นาโนเทคโนโลยี
– วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical engineering)
– ภัยพิบัติธรรมชาติ รวมไปถึงโรคระบาด
– เศรษฐกิจชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
– เทคโนโลยีสารสนเทศ
– การเกษตรและการอาหาร
– การบินและอวกาศ
– หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
– วัสดุชนิดใหม่
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยได้มีการประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการวิจัยและที่เกี่ยวข้องในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้
- โครงการวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางด้านอุตสาหกรรม Hard Disk Drive โดยเป็นโครงการความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และภาคอุตสาหกรรรม โดยขณะนี้ ได้รับโควตาทุนการศึกษาจาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนให้สร้างบุคลากรด้านอุตสาหกรรม Hard Disk Drive ทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท
- ความร่วมมือการส่งเสริมและพัฒนาเครื่องจักรอุตสาหกรรมการผลิตระหว่าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค เอ็ม ซี คลังมอเตอร์ไซด์ และบริษัทเชียงใหม่พาร์ท ซัพพลาย จำกัด กับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นโครงการความร่วมมือที่ภาคเอกชนได้จัดหาและส่งมอบเครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องมืออื่นที่ผ่านการใช้งานจากประเทศญี่ปุ่นให้แก่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อใช้ในการศึกษา ทำวิจัยและพัฒนา ปรับปรุง หรือออกแบบ เครื่องจักรต่อไป
- โครงการจัดตั้งศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Bio-medical Engineering Center) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นผู้ประสานงานหลัก โดยผู้แทนของแต่ละคณะได้มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดตั้งหลักสูตรดังกล่าว โดยในปีนี้เป็นปีที่ 6 ของการได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากงบประมาณแผ่นดินต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมารวมทั้งสิ้น 40.7 ล้านบาท
- โครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศสำหรับการผลิตฮาร์ดดิสค์ (Center of Excellence in Hard Disc Manufacturing) โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทโฮยากลาสดิสด์ จำกัด บริจาคงบประมาณสนับสนุนจำนวน 15 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีถ่ายโอนเทคโนโลยี และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด การพัฒนาเครื่องจักร กระบวนการผลิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดความร่วมมือของนักวิจัยระดับแนวหน้าทั้งภายในและต่างประเทศ สู่ความเป็นเลิศด้านการวิจัย ศึกษาและถ่ายโอนเทคโนโลยีกระบวนการออกแบบ กระบวนการผลิตที่ทันสมัยสู่คนไทยเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความชำนาญในการออกแบบ การออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิต การบริหารจัดการระบบการผลิต การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
- โครงการ “Development of appropriate water treatment technology with a ceramic membrane for the developing countries” เป็น โครงการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยโตเกียว กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย ศูนย์เครือข่ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (EHWM/CMU) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ Ceramic membrane ให้เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการบำบัดเชื้อโรคติดต่อทางน้ำเพื่อการผลิตน้ำดื่มน้ำใช้ให้กับประชากรในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเสี่ยงในการที่จะได้รับอันตรายจากเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (2008-2010) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ วัฒนะจีระ สังกัดภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าโครงการ โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากบริษัท Metawter Co., Ltd. ประเทศญี่ปุ่น ให้งบประมาณสนับสนุนจำนวน 19 ล้านเยน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะตามปีงบประมาณ
- โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางพิเศษสำหรับรถบรรทุกและระบบบริหารจัดการเพื่อเชื่อมต่อการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จำนวน 47,749,900 บาท โดยมีอาจารย์ ดร.รังสรรค์ อุดมศรี สังกัดภาควิชาวิศวกรรมโยธา เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าเพื่อให้มีระบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพและบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมเป็นที่ยอมรับของทั้งฝ่ายภาครัฐและผู้ประกอบการ โดยมีแนวคิดที่จะทำการศึกษาโครงข่ายเส้นทางพิเศษสำหรับรถบรรทุกทั่วประเทศเพื่อเชื่อมต่อการขนส่งรูปแบบอื่น โดยในการศึกษาจะเน้นในเรื่องการนำเสนอเส้นทางใหม่ที่มีศักยภาพสูงและ/หรือปรับปรุงมาตรฐานทางหลวงเดิมบางส่วนให้มีความสามารถในการรองรับการขนส่งทางรถบรรทุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการศึกษาระบบบริหารและจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพโดยรวมของกระบวนการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุก โดยการนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยและเป็นสากลมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อให้การบริหารจัดการขนส่งสินค้าในประเทศไทยเพื่อให้เป็นไปด้วยถูกต้องและรวดเร็ว ที่จะทำให้สามารถบรรลุเป้าประสงค์หลักในการลดต้นทุนการขนส่ง ประหยัดเวลา เพิ่มความปลอดภัยและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
- โครงการวิจัยเรื่อง Use of Vapor Compression Heat Pump for Recovering Waste Heat from Air-Conditioner โดยศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้รับทุนสนับสนุนจาก Daikin Industries (Thailand) Ltd ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ Daikin Industries (Thailand) Ltd. ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งมีพิธีลงนามเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 ณ Daikin Industries (Thailand) Ltd.ชลบุรี
- โครงการ Thailand.NET (MCDP certification) และ โครงการ Certified JAVA programmer ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) สาขาเชียงใหม่ (SIPA) เพื่อจัดโครงการ Thailand.NET (MCDP certification) และโครงการ Certified JAVA programmer
- โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(TRIDI) เพื่อ สนับสนุน และส่งเสริมโครงการวิจัยของคณาจารย์ และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสอดคล้องกับภารกิจและแผนการดำเนินงานของ สพท. สนับสนุน และส่งเสริมให้มีการเตรียมความพร้อมในด้านห้องปฏิบัติการวิจัย รวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์ บุคลากร และปัจจัยในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อโครงการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน สนับสนุน และส่งเสริมการศึกษาและวิจัยสำหรับผู้ที่ศึกษาในระดับปริญญาดุษฏีบัณฑิต และมหาบัณฑิตของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือในรูปแบบอื่นใดตามหลักเกณฑ์ที่ สพท. กำหนด สนับสนุน และร่วมมือกันในการพัฒนาบุคลากร จัดการฝึกอบรม ประชุมสัมมนา รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารทางด้านวิชาการ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ตลอดจนให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุน และ/หรือดำเนินโครงการวิจัยร่วมกัน รวมทั้งให้ร่วมมือในด้านอื่น ๆ ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสมควร โดยในช่วงที่ผ่านมสนับสนุนให้จัดตั้งโครงการปรับปรุงศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอุปกรณ์และเครือข่ายในระบบการสื่อสารทางแสงแห่งอนาคต
- โครงการติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อน อุณหภูมิ 50 – 55 องศาเซลเซียส สำหรับอาคารบุญสมมาร์ติน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ เป็นหัวหน้าโครงการ สำหรับการติดตั้งนี้ได้ใช้เทคนิคปั๊มความร้อนเสริมด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ที่พัฒนาโดยเทคนิคดังกล่าว มีตัวเก็บรังสีอาทิตย์ให้ความร้อนที่คอยล์เย็น แก่ระบบปั๊มความร้อนในช่วงที่ระดับความเข้มรังสีอาทิตย์เพียงพอ และคอยล์ร้อนของปั๊มความร้อนจะจ่ายความร้อนเพื่อผลิตน้ำร้อนใช้งาน ในกรณีที่ระดับความเข้มรังสีอาทิตย์ไม่เพียงพอ ปั๊มความร้อนจะดึงความร้อนจากอากาศรอบ ๆ เพื่อใช้ในการผลิตน้ำร้อน น้ำร้อนที่ผลิตได้จากระบบผลิตจะสะสมอยู่ในถังพักที่ได้รับการป้องกันการสูญเสียความร้อน ก่อนการส่งจ่ายตามท่อน้ำร้อนไปยังจุดใช้งานอาคาร
- โครงการชุมชนการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศน์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก งบประมาณแผ่นดิน มีศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยได้จัดกิจกรรมทั้งในส่วนของการมอบเครื่องต้นแบบให้ชุมชนและจัดอบรม สัมมานา เผยแพร่ความรู้ เช่น มอบเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ และ เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
- โครงการติดตั้งกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนโครงการในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยดำ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ งานทดลองเลี้ยงขยายพันธุ์ปลาเทร้าท์และปลาสเตอเจี้ยน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ไชยเทพ และห้องปฏิบัติการวิจัย PARA & FAME ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นผู้ดำเนินการ มีเป้าหมายจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโครงการวิจัยนำร่องที่ดำเนินการอยู่ ได้พบว่าพื้นที่มีลักษณะน้ำไหลตลอดปี ปริมาณไหลไม่มากนัก หัวน้ำ (head) ไม่มากนัก มีความต้องการแสงสว่างและ/หรือระบบป้อนอากาศให้บ่ออนุบาลปลาทดลอง ลักษณะของช่องทางน้ำไหลเหมาะสมที่จะออกแบบได้ซึ่งระบบผลิตไฟฟ้าจากน้ำได้หลายรูปแบบ
- โครงการศูนย์ที่ปรึกษาเพื่อการออกแบบพัฒนาเครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก มีอาจารย์ ดร.เวชยันต์ รางศรี เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพัฒนาเครื่องจักร พัฒนาบุคลากร จัดประชุมสัมมนาสมาชิกเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
- โครงการจัดทำระบบพยากรณ์ และเตือนภัยน้ำท่วมเขตเมืองเชียงใหม่ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชูโชค อายุรพงศ์ หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ร่วมกับ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาและจัดทำระบบพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ตามมาตรการเตือนภัยล่วงหน้าโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการ 3 เป้าหมายประกอบด้วย– จัดเก็บข้อมูลทางอุทกวิทยา ได้แก่ โครงการจัดทำแผนที่โดยใช้ภาพถ่ายระบบ Scanning LIDAR พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่– วิเคราะห์และพยากรณ์น้ำท่วม ได้แก่โครงการพยากรณ์ระดับน้ำล่วงหน้า เพื่อเตือนภัยน้ำท่วมของแม่น้ำปิง เขตเมืองเชียงใหม่- การเตือนภัยและผจญน้ำท่วม ได้แก่ โครงการจัดทำคู่มือเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วมสำหรับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โครงการจัดทำป้ายเตือนระดับน้ำท่วมพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ และ โครงการจัดทำระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติทางระบบสื่อสาร
- โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงพัฒนาระบบฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับการบริหารจัดการและกำหนดทิศทางของการพัฒนาทรัพยากรน้ำในพื้นที่อย่างยั่งยืน และตอบสนองความต้องการของประชาชนทุกส่วนได้อย่างเป็นระบบโดยรวม
- โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลอง (ประจำปี 2554) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ สืบเนื่องจากในปี 2553 จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดทำโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีข้อมูลในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ รวมถึงการบูรณาการสู่แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของจังหวัดในภาพรวม โดยการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ โดยปัญหาหนึ่งในด้านทรัพยากรน้ำที่พบมากและประชาชานมีความต้องการให้มีการแก้ไข คือ การอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลอง จังหวัดเชียงใหม่จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จะได้ดำเนินให้มี “การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลอง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่เชื่อมโยงการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับเป็นเครื่องมือรองรับการจัดการอนุรักษ์ลำน้ำ แม่น้ำคูคลอง โดยเฉพาะตำแหน่งที่ถูกลุกล้ำ อุดตัน เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาลำน้ำถูกบุกรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างงานวิจัย/โครงการบริการวิชาการ ที่ดำเนินการ
- เครื่องเปิดหนังสืออัตโนมัติสำหรับผู้พิการทางแขน
- เสถียรภาพบ่อเหมือง
- โครงการ ปรับปรุงเสถียรภาพลาดดินเชิงเขา โซน 1B (ระยะที่ 2) วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการเตรียมข้อมูลด้านธรณีวิทยาและการสร้างแบบจำลองแหล่งแร่ถ่านหิน
- โครงการเพาะต้นกล้าอุตสาหกรรม
- โครงการประเมินประสิทธิภาพและการถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร
- โครงการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพของอากาศขนาดเล็กแบบไร้สาย
- โครงการศึกษาแก้ไขการทรุดตัวของพื้นดิน
- โครงการจัดทำชุดสาธิตผลกระทบของปัญหาแรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะต่ออุปกรณ์ภายในโรงงานอุตสาหกรรม
- โครงการจัดสร้างเตาเผาศพแบบประหยัดพลังงานและลดภาวะมลพิษ
- โครงการชุมชนการเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศน์
- โครงการบริการวิชาการวิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร
- โครงการประหยัดพลังงานโดยใช้เทคโนโลยีสะอาดให้กับอุตสาหกรรมอาหารในพื้นที่ภาคเหนือ
- โครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีสะอาด
- โครงการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม โครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรม)
- โครงการพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้า
- โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตด้านการผลิต บัญชีต้นทุน และการตลาด
- โครงการระบบควบคุมการทำงานของพัดลมระบายอากาศใน Cooling Tower อัตโนมัติ
- โครงการวิจัยพืชพลังงานสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง : โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพการหีบน้ำมันจากพืชพลังงานท้องถิ่น สำหรับใช้ในระดับครัวเรือน
- โครงการศึกษาแนวคิดการพัฒนาการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการค้าบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำโขงตามแนวพัฒนาเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (เชียงของ – ห้วยทราย)
- โครงการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักรในกระบวนการผลิตด้วยวิศวกรรมย้อนรอย
- โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดระบบเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ
- โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดระบบการจัดการมูลฝอยอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- โครงการส่งเสริมและพัฒนาการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในต่างประเทศ
- โครงการสร้างความตระหนักและจิตวิญญาณผู้ประกอบการ
- โครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร
- การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงการจัดเก็บสินค้าของโรงงานเครื่องประดับ
- การเพิ่มศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทยสู่หลักการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการผลิตและรักษาระบบ Green Productivity เพื่อผลิตอาหารอย่างยั่งยืน
- การใช้น้ำมันอิมัลชั่นทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในเครื่องยนต์ดีเซลเกษตรกรรม
- การใช้ระบบทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์เสริมปั๊มความร้อนในการควบคุมอุณหภูมิบ่อเลี้ยงปลา
- การคัดแยกและลำเลียงหินฝุ่น
- การจัดทำระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์
- การประยุกต์ใช้โปรแกรมควบคุมการบริหารความเสี่ยงในการขนส่งบนท้องถนน
- การประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองเพื่อพัฒนาเส้นใยกล้วยในงานอุตสาหกรรม
- การประยุกต์ใช้น้ำมันชีวภาพผสมในรูปอิมัลชั่นด้วยคลื่นความถี่เหนือเสียงเพื่อเป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาในหม้อไอน้ำหรือเตาเผา
- การปรับปรุงเครื่องบดสำหรับแปรรูปสมุนไพร
- การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตกุนเชียงด้วยเทคโนโลยีสะอาด
- การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตตู้และชั้นใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์โดยวิธีแอกกูเลชั่น
- การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียจากการผลิตปลาส้ม
- การผลิตก๊าซชีวภาพจากการบำบัดน้ำล้างเมล็ดข้าวโพดโดยถังปรับสภาพและถังปฏิกรณ์แบบยูเอเอสบี
- การพัฒนาเครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง
- การพัฒนาการผลิตแผ่นเสริมอุ้งเท้าด้วยเทคโนโลยีการผลิตทันสมัย
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวนึ่งตามแนวคิด Mood Consumption
- การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันในโรงงานเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์ จำกัด(มหาชน)
- การพัฒนาระบบจำแนกโดยกลุ่มแบบออนไลน์สำหรับสายจัดเรียงมะม่วง
- การพัฒนาระบบประกันคุณภาพและการสร้างเครื่องทดสอบเท้าเทียมและข้อเข่าเทียม
- การพัฒนาส่วนฝาครอบบนกระดูกต้นขาโดยการประยุกต์ด้วยเทคนิคการขึ้นรูปแบบรวดเร็ว
- การลดของเสียในกระบวนการผลิตกุนเชียง
- การลดของเสียจากกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางทันตกรรมโดยใช้เทคนิคโลจิสติกส์เชิงสิ่งแวดล้อม
- การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมแปรรูปผักของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย
โดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม - การศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพการหีบน้ำมันจากพืชพลังงานท้องถิ่นสำหรับใช้ในระดับครัวเรือนและเครื่องยนต์การเกษตร
- การสาธิตการเปลี่ยนขยะในมหาวิทยาลัยเป็นพลังงานในรูปควมร้อน (ชุดโครงการ)
- การสาธิตการผลิตเชื้อเพลิง RDF-5 จากขยะชุมชน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- การออกแบบและจัดทำอุปกรณ์ประจุโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบชนิดพกพาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง
- พิพิธภัณฑ์มีชีวิตของเมืองแม่ฮ่องสอน
- ระบบอบแห้งพลังงานทดแทนร่วม สำหรับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชน
- โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลลำพูน
- โครงการ ปรับปรุงเสถียรภาพลาดดินเชิงเขา โซน 1B (ระยะที่ 2) วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- เครื่องคว้านเมล็ดลำไยแบบกึ่งอัตโนมัติ
- โครงการระบบแปลภาษามือภาษาไทยเพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้พิการทางหู
- โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลอง (ประจำปี 2554) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
- ระบบป้ายรถประจำทางอัจฉริยะสำหรับเขตเมืองเชียงใหม่
- การประเมินและลดความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการทำงานของพนักงานในห้องสะอาด
- หุ่นยนต์ช่วยฝึกการเดินสำหรับผู้ป่วยอัมพาต
- การบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟอราบิก้าด้วยวิธีเปียก โดยระบบบึงประดิษฐ์
- โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดเชียงใหม่
- โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานในชุมชนในรูปแบบกังหันน้ำ
- การประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองเพื่อพัฒนาเส้นใยกล้วยในงานอุตสาหกรรม
- การประมาณระดับพลังงานของ Li-Ion แบตเตอร์รี่แบบเวลาจริงด้วยระบบจำลองสำหรับระบบพลังงานแบบไฮบริด
- การลดของเสียจากกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางทันตกรรมโดยใช้เทคนิคโลจิสติกส์เชิงสิ่งแวดล้อม
- การควบคุมกำลังไฟฟ้าของระบบโฟโตโวลตาอิกที่เชื่อมต่อเข้ากับกริดระบบโดยใช้คอนเวอร์เตอร์แหล่งจ่ายกระแสหนึ่งเฟสแบบห้าระดับ
- การบำบัดน้ำสียจากกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟอราบิก้าด้วยวิธีเปียก โดยระบบบึงประดิษฐ์
- การศึกษาและสาธิตการจัดการระบบรถร่วมสี่ล้อแดงของเมืองเชียงใหม่เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- การปรับแต่งน้ำมันหม้อแปลงที่เสื่อมสภาพเพื่อทดแทนน้ำมันดีเซล
- การเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัสแบบกระตุ้นด้วยแม่เหล็กเข้ากับกริดระบบไฟฟ้าโดยใช้คอนเวอร์เตอร์หลายระดับชนิดคู่ที่ขับด้วยกังหันขนาดเล็ก
- หุ่นยนต์ช่วยฝึกการเดินสำหรับผู้ป่วยอัมพาต
- การเพิ่มประสิทธิภาพสายการผลิตน้ำตาลโดยใช้แบบจำลองเชิงพลวัตสำหรับโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์
- การศึกษาผลกระทบของDistribution Generation (DG) ต่อระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- Monitoring of Benzene and No2 in Chiang Mai Ambient Air
- การพัฒนาเครื่องแยกเนื้อมะม่วงสุกสำหรับระดับการค้า
- การวิเคราะห์เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ของวัสดุชนิดไฮเปอร์อีลาสติกโดยใช้ Virtual Fields Method
- การศึกษาแนวทางการลดแรงต้านอากาศของรถบรรทุกหนึ่งตันดัดแปลง
- Study on Phase-Change Engery Storage for Energy Reduction of Air-Conditioner in Air Cooling
- ลักษณะเฉพาะทางด้านความร้อนของเทอร์โมไซฟอนที่มีท่อความร้อนแบบสั่นวงรอบอยู่ภายใน
- การใช้เส้นใยธรรมชาติเป็นวัสดุเสริมแรงเพื่อเพิ่มเสถียรภาพและป้องกันการชะล้างพังทลายของลาดดิน
- โครงการวิจัยพืชพลังงานสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง : โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพการหีบน้ำมันจากพืชพลังงานท้องถิ่น สำหรับใช้ในระดับครัวเรือนและเครื่องยนต์การเกษตร
- การผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากการแปรสภาพขยะเชิงพลาสมาเคมี
- การศึกษาโลจิสติกส์ของชีวมวลที่เหลือจากการเกษตรกรรมสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับขยะชุมชน
- การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากการไพโรไลซิสชีวมวลร่วมกับถ่านหินลิกไนต์ในเตาปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง
- โครงการจัดทำซอฟท์แวร์ปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการตามโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์กลุ่มจังหวัดเชื่อมโยง GMS
เผยแพร่ วันที่ 5 พ.ย. 58
“การขโมยความคิด หรือคำพูด หรือข้อความ ของบุคคลอื่นมาใช้โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา (citation)
หรือประกาศเกียรติคุณ (acknowledgment) ถือว่าเป็นการ โจรกรรมทางวรรณกรรม (Plagiarism)”