นศ.วิศวฯ สุดล้ำ นำนวัตกรรมจัดการน้ำ 3R คว้าแชมป์
[caption id="attachment_2551" align="aligncenter" width="630" caption="นักศึกษาวิศวฯโยธาร่วมกับวิศวฯสิ่งแวดล้อม คว้าแชมป์นวัตกรรม 3R ระบบจัดการน้ำ"][/caption] ในยุคที่ประชากรบนโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้น ความต้องการและจำเป็นใช้ทรัพยากรธรรมชาติย่อมมากขึ้น การคิดค้นพลังงานทาง เลือกอื่น และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด แม้แต่ทำสิ่งที่แทบหมดอายุการใช้งานจนเป็นขยะแล้วให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ถือเป็นวิธีที่ดีในการประหยัด และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ไห้เสื่อมโทรมหรือหมดไปอย่างรวดเร็ว ณัฐณิชา ตาใจ นักศึกษา ป.ตรี รหัส 52 วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ต้นคิดประดิษฐ์นวัตกรรมจัดการน้ำ 3R ชวนเพื่อนจากวิศวกรรมโยธา นัทธพงศ์ สำราญประภัสสร, ธารหทัย มาลัยศิลป์, พรรษชล ซื่อประสิทธิ์ และพัชรพรรณ บำรุงพาณิชย์ รวม 5 ชีวิต เซททีม “3R ซักหน้อยบ๋อ” คิดค้น ระบบ Zero Discharge สำหรับอุตสาหกรรม ย้อมผ้าขนาดย่อม ภายใต้การดูแลของ รศ.วิไลลักษณ์ กิจจนะพานิช(ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) และ อ.ดร.ธวัชชัย ตันชัยสวัสดิ์ (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา) ส่งผลงานคว้ารางวัลชนะเลิศโครงการประกวดนวัตกรรม 3R ปี 3 ของบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำ ภาคตะวันออกจำกัด (มหาชน) : East Water group เดินตามแนวคิดหลัก คือ ใช้ให้น้อยลง ลดความฟุ่มเฟือยทรัพยากรน้ำ นำกลับมาใช้ซ้ำ และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ( 3R : Reduce Reuse Recycle) นอกจากได้แข่งขันประลองการคิดค้นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและประเทศแล้ว ยังจะได้ต่อยอดก่อเกิดขยายผลโดยการนำสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลไปปั้นเป็นต้นแบบของชุมชนในพื้นที่ตามแนวเส้นท่อน้ำดิบอีกด้วย [caption id="attachment_2552" align="aligncenter" width="420" caption="นักศึกษาวิศวฯโยธาร่วมกับวิศวฯสิ่งแวดล้อม คว้าแชมป์นวัตกรรม 3R ระบบจัดการน้ำ"][/caption] “Zero Discharge” มีจุดเริ่มต้นจากการสำรวจพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายจำนวนมาก หนึ่งในกระบวนการผลิตล้วนหนีไม่พ้นการย้อมสี ซึ่งแต่ละพื้นยังไม่มีระบบจัดการน้ำเสียที่ดีพอ ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง คนในทีมจึงช่วยกันคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ช่วยบำบัดน้ำเสียจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ ยับยั้งการปล่อยน้ำเสียลงสู่ธรรมชาติ แล้วลุยไปตามโรงงานศึกษาวิธีย้อมผ้า เพื่อทำการทดลองในมหาวิทยาลัย คำนวณปริมาณน้ำ เกลือ และสี ในอัตราส่วนเท่ากับโรงงาน มุ่งหมายนำน้ำที่ผ่านกระบวนการย้อมนั้นกลับมาใช้ซ้ำ ลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ผลที่ได้ คือ สีไม่ผิดเพี้ยน หรือเพี้ยนน้อยมาก หลักการทำงานของนวัตกรรมนี้สอดคล้องกับระบบการย้อมผ้าของโรงงาน ที่เก็บน้ำไว้ย้อมซ้ำอยู่แล้ว แต่มีข้อเสียคือไม่ได้กรองทำให้ใช้ได้น้อยครั้ง หากผ่านกระบวนการกรองจะใช้ได้ประมาณ 5-6 ครั้ง ทีมคิดค้นจึง พลิกวิกฤติจากจุดที่ไม่สามารถนำน้ำไปใช้ต่อได้เป็นโอกาส โดยน้ำในส่วนนี้ซึ่งมีความเค็มไประเหยเป็นเกลือ เพื่อใช้ย้อมผ้าใหม่ได้อีกครั้ง [caption id="attachment_2553" align="aligncenter" width="420" caption="นักศึกษาวิศวฯโยธาร่วมกับวิศวฯสิ่งแวดล้อม คว้าแชมป์นวัตกรรม 3R ระบบจัดการน้ำ"][/caption] จุดขายของ “Zero Discharge” คือ เราสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำโดยไม่ทิ้งลงสู่ธรรมชาติ วัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องล้วนมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น สารส้ม ทราย ถ่านแกลบ วัสดุเหล่านี้หากเกิดการอุดตันในตัวเครื่อง ก็นำออกมาล้างแล้วใช้ใหม่ได้ นับเป็นการประดิษฐ์คิดค้นที่ทีม “3R ซักหน้อยบ๋อ” ใช้เวลา 6 เดือน ดึงวิทยายุทธจากห้องเรียน มาสร้างเป็นรูปร่างจับต้องได้ ที่สำคัญยิ่งกว่าการได้โชว์ผลงาน คือ การได้นำวิชาที่มี ออกมา “ปล่อยของ” สร้างประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อมและสังคม ผ่านอุปสรรคปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยความน้อยประสบการณ์ ทั้งเรื่องการจัดเวลาทำงานที่ต้องไม่กระทบตารางเรียนของแต่ละคน ช่วยกันคิดค้นลองผิดลองถูกแก้ไขตัวเครื่องที่ทำงานยังไม่สนองโจทย์ได้ดีพอ และฝึกการทำงานเป็นทีม เชื่อใจ และรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ “Zero Discharge” ประสบความสำเร็จ ครองตำแหน่งแชมป์นวัตกรรม 3R มาประดับชีวิต พิชิตเงินรางวัล 150,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติยศ และจะได้นำไปต้นแบบที่นำไปใช้จริงกับภาคอุตสาหกรรมต่อไป ]]>