วิศวฯ จัดงานประชุม “ระบบ IT ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ เตือนภัยน้ำท่วม เชียงราย” วิศวฯ จัดงานประชุม “ระบบ IT ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ เตือนภัยน้ำท่วม เชียงราย”

CRfld.main“ภัยพิบัติ”เมื่อกล่าวถึงคำนี้ คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้ซึ้งถึงอานุภาพของมัน   “ภัยพิบัติ”  เป็นภัยที่เกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ และเกิดขึ้นโดยมีมนุษย์เป็นต้นเหตุ อย่างไรก็ดี มันคือสิ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน  ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของผู้คน         หลายคนอาจมีความตื่นตระหนกกับภัยที่จะเกิดขึ้น ฉะนั้น การ “พร้อมตั้งรับ” สถานการณ์ จึงถือเป็นเครื่องมือสามัญประจำตัวชุดหนึ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์อย่างเรา

 

ตัวอย่างของภัยพิบัติที่มักประสบพบเห็นในบ้านเราบ่อยครั้ง คือ น้ำท่วม  แผ่นดินไหว ดังเช่นที่จังหวัดเชียงราย  หลายท่านคงเคยพบเห็นข่าวสารเกี่ยวกับการเกิดภัยที่ว่ามานั้นมากครั้งหลายครา เหตุนี้จึงเป็นโอกาสที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับมอบหมายจากจังหวัดเชียงราย ให้เป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการน้ำ การเตือนภัยน้ำท่วมและเฝ้าระวังสาธารณภัยแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ จัดทำระบบการติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วม และจัดทำฐานข้อมูลอาคาร สิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารทั่วไป กระทั่งนำไปสู่แนวทางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ และถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงรายนั่นเอง  CRfld.3

           ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการน้ำและเตือนภัยน้ำท่วม นำโดยหัวหน้าโครงการ รศ.ชูโชค อายุพงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา ร่วมกับ อาจารย์ ดร. ภาสกร แช่มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้า OASYS GROUP พัฒนาระบบเครือข่ายเครื่องมือวัดน้ำแบบโทรมาตรขนาดเล็ก (Mix-Key : มิกกี้) ขึ้นใหม่ผนวกเสริมกับระบบเครื่องวัดน้ำแบบโทรมาตรขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน ให้การเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำครอบคลุมในลุ่มน้ำที่ขาดเครื่องมือเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำแต่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยและมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก

เมื่อระบบการทำงานของ Mix-Key และเครื่องวัดน้ำของกรมชลประทานได้รับการพัฒนาทั้งเครือข่ายเครื่องมือวัดน้ำ และระบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อการเตือนภัยสาธารณะอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว โดยประชาชนสามารถเข้าตรวจดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ http://www.CRflood.com จากนั้นจึงจัดงานประชุมเรื่อง    “ระบบการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเชียงราย” เพื่อให้หน่วยงานและชาวบ้านทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วมโดยใช้ระบบ IT ที่พัฒนาขึ้น  ซึ่งได้เดินสายจัดประชุมตามพื้นที่ลุ่มน้ำ รวม 5 รุ่น ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำแม่กรณ์ ,พื้นที่ลุ่มน้ำกก ,พื้นที่ลุ่มน้ำแม่จัน ,พื้นที่ลุ่มน้ำแม่คำ และพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สรวย ระหว่างวันที่ 24 – 30 เมษายน 2557 ณ จังหวัดเชียงราย

CRfld.5 การประชุมพูดถึงถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อให้รับรู้ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานของที่ปรึกษาในการพัฒนาระบบการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติจังหวัดเชียงราย ที่มักประสบภัยเป็นบริเวณกว้างในบริเวณใกล้ลำน้ำสายหลัก เป็นประจำแทบทุกปี โดยระบบการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วม จะทำให้ความเสียหายบรรเทาเบาบางลง เพราะมีการแจ้งเตือนภัยได้ทันท่วงที  เริ่มจากการให้ความรู้และฐานข้อมูลต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อนำเสนอระบบแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ให้ทราบข้อมูลและใช้ประโยชน์แล้วเตรียมรับมือกับภัยน้ำท่วมต่อไป ณ ขณะเดียวกันนั้นก็เป็นการออกสำรวจพื้นที่ อาคารต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานข้อมูลเรื่องแผ่นดินไหวเช่นกัน CRfld.6อ.ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ ในฐานะวิทยากร ได้นำเสนอ ระบบการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วม และสาธิตการใช้งานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้าน ระบบดังกล่าวจะเสนอข้อมูลน้ำรวมทุกสถานีที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย ทั้งจากกรมชลประทานที่ได้ติดตั้งเครื่องโทรมาตรขนาดใหญ่จำนวน 14 สถานี และจากโครงการฯ ที่ได้พัฒนาและติดตั้งเครื่องโทรมาตรขนาดเล็กเพิ่มเติมอีกจำนวน 7 สถานี เพื่อเติมเต็มและสร้างการทำงานสอดคล้องกันจนเป็นระบบที่สมบูรณ์ ให้ข้อมูลสำหรับการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำและเตือนภัยน้ำท่วมที่ถูกต้องและทันท่วงที CRfld.2 CRfld.1

จากการบูรณาการข้อมูลพร้อมนำเสนอผ่านเว็บไซต์ http://www.CRflood.com ทำให้ประชาชนและผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์น้ำที่ถูกต้องและรวดเร็ว ด้วยการออกแบบซึ่งคำนึงถึงชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดเชียงรายที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นหลัก เมื่อผู้เยี่ยมชมเข้าสู่เว็บไซต์หน้าแรก จะทราบสถานการณ์โดยรวมทันทีจากข้อความสรุปCRfldf.9บอกถึงเวลาที่ประกาศ, สถานการณ์ที่เกิดขึ้น, พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และแนวทางในการปฏิบัติเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น พร้อมมีเมนูหลักให้เลือกเข้าดูรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ แบ่งเป็นสถานีที่สนใจหรืออยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัย โดยสัญลักษณ์สถานีจะเปลี่ยนสีตามระดับการเตือนภัยโดยอัตโนมัติ (สีดำ = ระดับน้ำปกติ ,สีเหลือง= ระดับน้ำเตือนภัย และ สีแดง= ระดับน้ำวิกฤต)  และด้วยกระแส Social Media ที่คนในปัจจุบันนิยมใช้อย่างแพร่หลาย อย่าง Facebook ผู้จัดโครงการจึงสร้างหน้าแฟนเพจ http://www.facebook.com/ChiangRaiFlood ให้ผู้สนใจติดตามสถานการณ์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นอีก

โครงการเล็ก ๆ นี้ เป็นหนึ่งการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนที่จำต้องอาศัยอยู่บนโลกที่แน่นอนว่า “ภัยพิบัติ” เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธ แต่ก็เราสามารถ “ตื่น” แบบ “ไม่ตระหนก” ได้เช่นกัน

CRfld.main“ภัยพิบัติ”เมื่อกล่าวถึงคำนี้ คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้ซึ้งถึงอานุภาพของมัน   “ภัยพิบัติ”  เป็นภัยที่เกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ และเกิดขึ้นโดยมีมนุษย์เป็นต้นเหตุ อย่างไรก็ดี มันคือสิ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน  ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของผู้คน         หลายคนอาจมีความตื่นตระหนกกับภัยที่จะเกิดขึ้น ฉะนั้น การ “พร้อมตั้งรับ” สถานการณ์ จึงถือเป็นเครื่องมือสามัญประจำตัวชุดหนึ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์อย่างเรา

 

ตัวอย่างของภัยพิบัติที่มักประสบพบเห็นในบ้านเราบ่อยครั้ง คือ น้ำท่วม  แผ่นดินไหว ดังเช่นที่จังหวัดเชียงราย  หลายท่านคงเคยพบเห็นข่าวสารเกี่ยวกับการเกิดภัยที่ว่ามานั้นมากครั้งหลายครา เหตุนี้จึงเป็นโอกาสที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับมอบหมายจากจังหวัดเชียงราย ให้เป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการน้ำ การเตือนภัยน้ำท่วมและเฝ้าระวังสาธารณภัยแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ จัดทำระบบการติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วม และจัดทำฐานข้อมูลอาคาร สิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารทั่วไป กระทั่งนำไปสู่แนวทางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ และถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงรายนั่นเอง  CRfld.3

           ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการน้ำและเตือนภัยน้ำท่วม นำโดยหัวหน้าโครงการ รศ.ชูโชค อายุพงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา ร่วมกับ อาจารย์ ดร. ภาสกร แช่มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้า OASYS GROUP พัฒนาระบบเครือข่ายเครื่องมือวัดน้ำแบบโทรมาตรขนาดเล็ก (Mix-Key : มิกกี้) ขึ้นใหม่ผนวกเสริมกับระบบเครื่องวัดน้ำแบบโทรมาตรขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน ให้การเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำครอบคลุมในลุ่มน้ำที่ขาดเครื่องมือเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำแต่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยและมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก

เมื่อระบบการทำงานของ Mix-Key และเครื่องวัดน้ำของกรมชลประทานได้รับการพัฒนาทั้งเครือข่ายเครื่องมือวัดน้ำ และระบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อการเตือนภัยสาธารณะอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว โดยประชาชนสามารถเข้าตรวจดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ http://www.CRflood.com จากนั้นจึงจัดงานประชุมเรื่อง    “ระบบการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเชียงราย” เพื่อให้หน่วยงานและชาวบ้านทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วมโดยใช้ระบบ IT ที่พัฒนาขึ้น  ซึ่งได้เดินสายจัดประชุมตามพื้นที่ลุ่มน้ำ รวม 5 รุ่น ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำแม่กรณ์ ,พื้นที่ลุ่มน้ำกก ,พื้นที่ลุ่มน้ำแม่จัน ,พื้นที่ลุ่มน้ำแม่คำ และพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สรวย ระหว่างวันที่ 24 – 30 เมษายน 2557 ณ จังหวัดเชียงราย

CRfld.5 การประชุมพูดถึงถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อให้รับรู้ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานของที่ปรึกษาในการพัฒนาระบบการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติจังหวัดเชียงราย ที่มักประสบภัยเป็นบริเวณกว้างในบริเวณใกล้ลำน้ำสายหลัก เป็นประจำแทบทุกปี โดยระบบการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วม จะทำให้ความเสียหายบรรเทาเบาบางลง เพราะมีการแจ้งเตือนภัยได้ทันท่วงที  เริ่มจากการให้ความรู้และฐานข้อมูลต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อนำเสนอระบบแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ให้ทราบข้อมูลและใช้ประโยชน์แล้วเตรียมรับมือกับภัยน้ำท่วมต่อไป ณ ขณะเดียวกันนั้นก็เป็นการออกสำรวจพื้นที่ อาคารต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานข้อมูลเรื่องแผ่นดินไหวเช่นกัน CRfld.6อ.ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ ในฐานะวิทยากร ได้นำเสนอ ระบบการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วม และสาธิตการใช้งานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้าน ระบบดังกล่าวจะเสนอข้อมูลน้ำรวมทุกสถานีที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย ทั้งจากกรมชลประทานที่ได้ติดตั้งเครื่องโทรมาตรขนาดใหญ่จำนวน 14 สถานี และจากโครงการฯ ที่ได้พัฒนาและติดตั้งเครื่องโทรมาตรขนาดเล็กเพิ่มเติมอีกจำนวน 7 สถานี เพื่อเติมเต็มและสร้างการทำงานสอดคล้องกันจนเป็นระบบที่สมบูรณ์ ให้ข้อมูลสำหรับการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำและเตือนภัยน้ำท่วมที่ถูกต้องและทันท่วงที CRfld.2 CRfld.1

จากการบูรณาการข้อมูลพร้อมนำเสนอผ่านเว็บไซต์ http://www.CRflood.com ทำให้ประชาชนและผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์น้ำที่ถูกต้องและรวดเร็ว ด้วยการออกแบบซึ่งคำนึงถึงชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดเชียงรายที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นหลัก เมื่อผู้เยี่ยมชมเข้าสู่เว็บไซต์หน้าแรก จะทราบสถานการณ์โดยรวมทันทีจากข้อความสรุปCRfldf.9บอกถึงเวลาที่ประกาศ, สถานการณ์ที่เกิดขึ้น, พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และแนวทางในการปฏิบัติเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น พร้อมมีเมนูหลักให้เลือกเข้าดูรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ แบ่งเป็นสถานีที่สนใจหรืออยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัย โดยสัญลักษณ์สถานีจะเปลี่ยนสีตามระดับการเตือนภัยโดยอัตโนมัติ (สีดำ = ระดับน้ำปกติ ,สีเหลือง= ระดับน้ำเตือนภัย และ สีแดง= ระดับน้ำวิกฤต)  และด้วยกระแส Social Media ที่คนในปัจจุบันนิยมใช้อย่างแพร่หลาย อย่าง Facebook ผู้จัดโครงการจึงสร้างหน้าแฟนเพจ http://www.facebook.com/ChiangRaiFlood ให้ผู้สนใจติดตามสถานการณ์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นอีก

โครงการเล็ก ๆ นี้ เป็นหนึ่งการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนที่จำต้องอาศัยอยู่บนโลกที่แน่นอนว่า “ภัยพิบัติ” เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธ แต่ก็เราสามารถ “ตื่น” แบบ “ไม่ตระหนก” ได้เช่นกัน]]>