วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
Computer Engineering
“จะ Software หรือ Hardware ก็ไม่หวั่น”
“สาขาวิชาว่าด้วยการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ระบบเครือข่าย เช่น การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ระบบฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย และความปลอดภัย ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบไมโครโปรเซสเซอร์-ไมโครคอนโทรลเลอร์ ระบบประมวลสัญญาณภาพ/เสียง/วีดีโอ ความฉลาดทางการคำนวณ หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ และซอฟต์แวร์/เกมส์/ แอนิเมชัน บัณฑิตสาขานี้จะมีความยืดหยุ่น เรียนรู้เร็ว พัฒนาตน ได้อย่างต่อเนื่อง”
- สาขานี้สำคัญไฉน
หากท่านสนใจด้านเทคโนโลยี ชอบทดลองของใหม่ๆ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์อันกว้างไกล อยากสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เปลี่ยนโลกได้ ใฝ่รู้เพื่อจะพัฒนาตนเองตลอดเวลา และเห็นว่าโลกนี้จะขับเคลื่อนไปในอนาคตได้ก็ต้องใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เราขอเชิญชวนท่านมาเมเจอร์ที่ภาควิชาของเรา
- สาขานี้สำคัญไฉน
ท่านจะได้เรียนรู้หลากด้าน จากประมาณ 6 สาขาใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกันและสำคัญต่อการพัฒนาโลกใบนี้- ฮาร์ดแวร์และระบบฝังตัว (hardware and embedded systems)
- ระบบฐานข้อมูลและวิศวกรรมข้อมูล (database systems and data engineering)
- ระบบเครือข่ายและความปลอดภัยของข้อมูล (networks and information security)
- ระบบสารสนเทศและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (information systems and software engineering)
- ปัญญาเชิงคำนวณและคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computational intelligence and computer vision)
- ทฤษฎีการคำนวณและควอนตัมคอมพิวเตอร์ (theory of computation and quantum computing)
- เรียนอะไรในวิศวกรรมคอมพิวเตอร์…?
- พื้นฐานวิศวกรรมทั่วไป
- พื้นฐานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ
- ซอฟต์แวร์ เช่น การเขียนโปรแกรม วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศฮาร์ดแวร์ (ระบบไมโครโพรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์ ระบบควบคุมอัตโนมัติ การออกแบบฮาร์ดแวร์)
- เครือข่าย เช่น ระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายไร้สาย ความปลอดภัยเครือข่าย
ภาควิชาของเรามีคณาจารย์และพี่ๆ บุคลากรฝ่ายสนับสนุนสุดคูล ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเป็นกันเอง มีหัวทันสมัย พร้อมจะรับฟัง แลกเปลี่ยนความเห็น และให้คำแนะนำแก่ท่านอย่างใกล้ชิด ทำให้ท่านมีโอกาสฝึกวิทยายุทธ์จนไปร่วมงานกับบริษัทชั้นนำได้มากมาย และเข้าแข่งขันจนได้รับรางวัลระดับประเทศกลับมาในทุกๆ ปี
- เรียนไป…จะได้อะไรบ้าง
เรียนจบแล้วท่านจะพร้อมสร้างนวัตกรรมด้วยตนเองได้อย่างฉะฉาน ทว่าตอนเข้าเว็บหางานครั้งแรกจะนานหน่อย เพราะชื่อตำแหน่ง “วิศวกรคอมพิวเตอร์” ที่เรารอคอยนั้นหาตัวจับยากมากในประกาศรับสมัครงาน แต่ส่วนใหญ่เขาจะขานเป็นตำแหน่งเฉพาะด้านที่พวกเราทำได้แน่ๆ เช่น โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ข้อมูล วิศวกรซอฟต์แวร์ วิศวกรเครือข่าย เป็นต้น สำหรับท่านที่อยากท้าทายขึ้นไปอีก ก็เปิดบริษัทตั้งแต่เรียนไปเลย เพราะมีรุ่นพี่ที่เคยลองแล้วปัง แถมยังมารีครูตน้องๆ ไปช่วยทำอีก ย้ำ มาเรียนทางนี้ มีงานทำแน่นอน
- เริ่มสนใจแบบจริงจังแล้ว ขอข้อมูลเพิ่มหน่อย
ในระดับปริญญาตรีนั้น ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มี 2 หลักสูตรให้ท่านเลือก- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ที่เน้นองค์ความรู้คอมพิวเตอร์ครบทุกด้าน
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก เป็นหลักสูตรนานาชาติ ที่การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และมีอาจารย์ชาวต่างประเทศดูแลอย่างใกล้ชิด
ในทั้งสองหลักสูตร ท่านสามารถเลือกเรียนวิชาเลือกที่ตนเองถนัดหรือมีความสนใจเป็นพิเศษได้ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญในสายงาน
- รายละเอียดเพิ่มเติม
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา 23,000 บาท
- รายละเอียดเพิ่มเติม
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ)
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา 35,000 บาท
- รายละเอียดเพิ่มเติม
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศและเครือข่าย (หลักสูตรนานาชาติ)
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา 50,000 บาท
- รายละเอียดเพิ่มเติม
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- ติดต่อเราทางไหนดี
- Facebook : DeptCPECMU
- เว็บไซต์ : http://www.cpe.eng.cmu.ac.th/
- อีเมล : cpe@eng.cmu.ac.th
- โทรศัพท์ : 0 5394 2023