วช.จับมือศูนย์บริหารงานวิจัย มช. โดย กลุ่มนักวิจัย Haze Free Thailand เดินหน้าโครงการ “เครือข่ายประเทศไร้หมอกควันสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน” แก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน

คือ ตัวแทนจากหน่วยงานการศึกษา Royal University of Agriculture ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาและ ร่วมกับตัวแทนจากหน่วยงานการศึกษา ณ Nong Lam University เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม  ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันเช่นกัน โครงการดังกล่าว จัดกิจกรรม “สัมมนาให้ความรู้ (Capacity Building) และถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) เพื่อผลักดันให้เกิดเครือข่าย (Networking) การแก้ไขและป้องกันปัญหาหมอกควันข้ามแดน International Seminar on Haze Free Networking in Upper ASEAN” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากการวิจัย และพัฒนาในมหาวิทยาลัยให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงกับการจัดการ แก้ไขปัญหาหมอกควัน ทั้งยังหารือร่วมกัน สร้างความตระหนักในปัญหาข้างต้น ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการป้องกันด้วยแนวทาง และวิธีแก้ไขที่ยั่งยืน พร้อมนี้ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการจัดการปัญหาหมอกควันให้แก่หน่วยงานการศึกษา และหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยทีมนักวิจัยได้ทำการทดสอบและติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ Dust Boy” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถตรวจจับค่าฝุ่นละออง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการตรวจจับค่าฝุ่นละอองได้ที่ระดับ PM10 และ PM2.5 นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจวัดอุณหภูมิอากาศและความชื้นในอากาศบริเวณโดยรอบได้โดยใช้กระบวนการทำงานส่งข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และรวบรวมรายละเอียดบนฐานข้อมูลเว็บไซต์ www.cmuccdc.org ที่มีการอัพเดทข้อมูลทุก 10 นาที กิจกรรมครั้งนี้หวังให้เกิดการผลักดัน รวมถึงสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานในเขตภูมิภาคอาเซียนตอนบนในการแก้ไขพร้อมป้องกันปัญหาหมอกคันข้ามแดนอย่างจริงจัง ก่อให้เกิดความร่วมมือกันตลอดจนสามารถจัดเตรียมแผนการบริหารหมอกควันได้อย่างเหมาะสม และยั่งยืน โดยผลลัพธ์จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ พบว่าสามารถสร้างแรงกระตุ้น และจิตสำนึกในการร่วมกันรณรงค์แก้ไขปัญหาหมอกควันได้ดังความคาดหมาย เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีข้อมูลเชิงปริมาณ หรือตัวเลขที่เด่นชัดมากพอ จึงไม่สามารถสร้างความตระหนักร่วมรับผิดชอบในสังคมได้อย่างพอเพียง ทั้งนี้ ยังได้สร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานในเขตภูมิภาคอาเซียนตอนบนสำหรับติดตามการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง และประสานการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตลอจนช่วยยกระดับประเทศให้เป็นภูมิภาคไร้ปัญหาหมอกควันโดยแผนการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน จากความร่วมมือทั้งภาคการศึกษา ภาคเอกชน และรัฐบาลท้องถิ่น   การดำเนินโครงการ เป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2561 ที่เห็นชอบร่างความตกลงการให้เงินสนับสนุนสำหรับโครงการดำเนินงานที่สามารถตรวจประเมิน เพื่อการจัดการปัญหาหมอกควันในพื้นที่อย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสาระสำคัญได้แก่ 1) เพื่อลดปัญหาหมอกควันในภูมิภาคอาเซียน 2) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับมือหมอกควันระหว่างประเทศสมาชิกและหุ้นส่วนภายนอก 3) สร้างเวทีการประสานงานด้านนโยบายและโครงการต่างๆ ด้านการแก้ไขปัญหาหมอกควัน อนึ่ง มติข้างต้นมีความสอดคล้องกับการดำเนินงานวิจัย Haze Free Thailand โครงการย่อยที่ 7 โครงการเครือข่ายประเทศไร้หมอกควันสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน โดยมีเครือข่ายจาก 4  ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ที่ผ่านมาดำเนินการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Haze free and Climate Change in ASEAN Workshop มื่อวันที่ 27 – 28 พฤษภาคม 2651 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและระดมสมองประเด็น  “How do we collaborate to reduce the haze? To move forward with Haze Free ASEAN 2020” จากการสนับสนุนโครงการโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เดินหน้าตามมติรัฐมนตรีไปพร้อมกับมติคณะรัฐมนตรีเรื่องร่าง Large Grant Agreement (LGA) สำหรับโครงการ Measurable Action for Haze-Free Sustainable Land Management in Southeast Asia (MAHFSA) ณ โรงแรมแคนทารี่ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่   ]]>