อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน CCS ร่วมบรรยายทิศทางการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ของไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพฤทธิ์ ตั้งพฤทธิ์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในโครงสร้างธรณี ร่วมบรรยายพิเศษ ที่งาน The Sustainable Energy & Technology Asia 2022: SETA 2022 ในบูธของ Thunhoon Pavillion เรื่องทิศทางการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage (CCS)) ในประเทศไทย วันที่ 20 กันยายน 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร
โดยสรุปองค์ความรู้ และแนวคิดถึงหัวข้อดังกล่าวได้ว่าในประเทศมีแหล่งดักจับ หรือกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ศักยภาพดีหลายแห่งที่สำคัญอันดับต้น คือ แหล่งแก๊สและน้ำมันเก่าซึ่งถูกทิ้งแล้ว นอกจากจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซข้างต้นได้ ยังสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำมันได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทิศทางการกักเก็บประเทศไทยยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ด้วยกฎหมาย ตลอดจนนโยบายต่างๆ ของรัฐยังไม่ชัดเจน ทั้งที่ภาคเอกชนของประเทศมีความพร้อมมาก เห็นได้จากบริษัทน้ำมันชั้นนำในประเทศไทย หากภาครัฐของประเทศไทยมีความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบาย CCS แล้วนำมาใช้ การบรรลุเป้าหมายบรรลุ Netzero emission ในประเทศไทยก็ถือว่าเป็นไปได้มากขึ้น