อาจารย์วิศวฯ มช. ร่วมเสวนาและบรรยายผลงานวิจัย ในงานสัมมนาเพื่อส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายวิจัย ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 4
อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมเสวนาและบรรยายผลงานวิจัยในงานสัมมนาเพื่อส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 4 กิจกรรมการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ พรหมวิกร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน และเป็นผู้ร่วมเสวนากับ รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงศ์ นาทวิชัย ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุริยะ ทองมุณี รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา ในหัวข้อ “นโยบายและยุทธศาสตร์ การสนับสนุนงานวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์”
พร้อมกันนี้ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์รวม 3 ท่านได้รับเลือกให้บรรยายผลงานวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้แก่
ท่านแรก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กำพล วรดิษฐ์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เกียรติบรรยายหัวข้อ “Multi-user Secrecy SWIPT for 5G OFDMA Networks with Particle Swarm Optimizations”
ท่านต่อมา อาจารย์ ดร.ศศิน จันทร์พวง ประธานกลุ่มวิชาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เกียรติบรรยายหัวข้อ “Leveraging String Grammar Fuzzy Clustering for Malware Detection and Analysis”
และท่านสุดท้าย อาจารย์นพรุจ ซื่อตรง อาจารย์ภายใต้กลุ่มวิชาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เกียรติบรรยายหัวข้อ “Ensemble Machine Learning for Identifying Fake News Headlines in Thailand”
โดยกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่ โดยมีจุดประสงค์ของงานในครั้งนี้มีพันกิจ ในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ จึงได้มีการจัดกิจกรรมสัมมนา เพื่อส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายวิจัยด้านความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์เป็นการสร้างเครือข่าย แบ่งปันข้อมูลระหว่างนักวิจัย ส่งเสริมความร่วมมือ ในการบริหาร จัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อยอดของนักวิจัย และองค์กร ต่าง ๆ ด้านความมั่นคงปลอยภัยไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
***ขอบคุณรูปภาพบ้างส่วนจากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)