วิศวะ มช. เข้าร่วมกิจกรรม Indo-Thailand Workshop on AI-Driven Innovations และเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ at IIT Gandhinagar

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) นำโดย ผศ.ดร.กรกฎ ใยบัวเทศ ทิพยาวงศ์ รองคณบดีและผู้อำนวยการศูนย์ CM-IES และ ดร.ใฝ่ฝัน ตัณฑกิตติ ผู้ช่วยคณบดี และรองผู้อำนวยการศูนย์ CM-IES พร้อมด้วยคณาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ประกอบด้วย รศ.ดร.วัชพล โรจนรัตนางกูร ผู้ช่วยหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นคร ทิพยาวงศ์ ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล พร้อมทั้ง นักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 รายได้แก่

  1. นายแมท แทนไทย คอช                            สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย
  2. นางสาววโรทัย โพธิ์ดี                                สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย
  3. นางสาวกนลลัส รัตนภาค                           สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  4. นางสาวธิฆัมพร แก้ววงค์                            สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  5. Miss ZULFA HANA MAULIDA                           สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  6. นางสาวณัฐธิดา ไพบูลย์ธนศาล                     สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  7. นายยศวัฒน์ สุขินี                                   สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  8. นายจตุพร สุขอ่วม                                   สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  9. นายปิยวุฒิ บุญเจริญ                                สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย
  10. นายภูผา พันแพง                                    สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (CAMT)

เข้าร่วมโครงการ Indo-Thailand Workshop on AI-Driven Innovations ณ Indian Institute Of Technology Gandhinagar (IIT Gandhinagar) สาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างวันที่ 24-28 มีนาคม 2568

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ โดย Workshop ครั้งนี้ประกอบไปด้วยการบรรยายและกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่น่าสนใจ ได้แก่

  • Visualizing the Thought Process of LLMs – ทำความเข้าใจโครงสร้างแนวคิดของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLMs) และกระบวนการคิดเชิงลึก
  • AI for Healthcare – ศึกษาการประยุกต์ใช้ AI ในอุตสาหกรรมการแพทย์เพื่อพัฒนาการวินิจฉัยโรคและการรักษา
  • AI-Assisted Energy Portfolio Optimization for Grid Management – การใช้ AI เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการพลังงาน ลดต้นทุน และบูรณาการแหล่งพลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ นักศึกษายังได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งช่วยเสริมสร้างมุมมองที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI และกระชับความสัมพันธ์ทางวิชาการระหว่าง CMU และ IIT Gandhinagar

ภายหลังจากสิ้นสุดพิธีเปิดงาน ทางคณะผู้แทนจาก CMU ได้ร่วมหารือกับ IITGN เกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีแผนดำเนินงานในด้านต่างๆ ดังนี้

  • การจัดเวิร์กชอปร่วมกันที่ CMU โดยมีความร่วมมือจาก IIT Gandhinagar และ IIT Kanpur
  • การพัฒนาโครงการฝึกงานและแลกเปลี่ยนนักศึกษา
  • การผลักดันหลักสูตรปริญญาโทสองปริญญา (Double Degree) ในสาขา Advanced Computing, Data Science และ Geoesources
  • การวิจัยร่วมในสาขาต่างๆ เช่น railway systems, electric vehicles (EVs), semiconductors, energy, urban intelligence, and human-centered robotics.

โดยการเดินทางครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระยะยาวระหว่าง ENG CMU และ IIT Gandhinagar ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนวัตกรรมในหลากหลายสาขา ต่อยอดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต