กลุ่มวิจัย Chiang Mai CCS วิศวฯ มช. เข้าร่วมประชุม และนำเสนอผลการวิเคราะห์ต้นทุนเทคโนโลยี BECCS ของประเทศ

ตัวแทนกลุ่มวิจัย Chiang Mai CCS นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพฤทธิ์ ตั้งพฤทธิ์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม หัวหน้ากลุ่มวิจัย Chiang Mai CCS และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์ พรหมสุข อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาจารย์นักวิจัยในกลุ่มวิจัย Chiang Mai CCS ได้ร่วมบรรยายทบทวนภาพรวมเทคโนโลยีการผลิตพลังงานชีวภาพด้วยการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Bioenergy with Carbon Capture and Storage: BECCS) จากแหล่งปล่อยสู่แหล่งกักเก็บทางธรณีวิทยาใต้ดิน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพฤทธิ์ ตั้งพฤทธิ์กุล เป็นผู้ทบทวนและบรรยายผลการวิเคราะห์ต้นทุนเทคโนโลยี BECCS ในด้านการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์ พรหมสุข เป็นผู้ทบทวนและบรรยายผลการวิเคราะห์ต้นทุนเทคโนโลยี BECCS ในด้านการขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์ ในงานประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 3ภายใต้โครงการการพัฒนารูปแบบการประเมินเทคโนโลยีและการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเขิงนโยบายสำหรับภาคอุตสาหกรรมใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนเทคโนโลยี BECCS ในประเทศไทย ซึ่งโครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (National Metal and Materials Technology : MTEC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท สหโคเจน กรีน จำกัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค) โดยงานครั้งนี้จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เวลา 8.30-16.30 น.  เพื่อเปิดโอกาสร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน มีการบรรยายเจาะลึกเทคโนโลยี Bio-energy และ Carbon Capture ที่จะช่วยสร้างอนาคตพลังงานสะอาดให้กับประเทศไทย